ค้นหาบล็อกนี้

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

01159521

Blog คำอธิบายรายวิชา 01159521

9 ความคิดเห็น:

  1. สรุปทฤษฎีทางการศึกษา “Constructivist”
    วิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร  (Science Curriculum Development)
    รหัสวิชา 01159521
    .............................................
    ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist)
    1. เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งกล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้และสร้างความหมายจากประสบการณ์ของผู้เรียนเอง ทฤษฎีการศึกษานี้ได้ถูกพัฒนาโดย Seymour Papert ซึ่งได้พื้นฐานแนวความคิดมาจาก Jean Piaget
    2. นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
    3. ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง ภายใต้ ข้อสมมติฐานต่อไปนี้
    3.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
    3.2 การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
    สรุปแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม โดยเน้นเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    - ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง
    ความสำคัญของการเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม เป็นกระบวนการ ที่ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีมาก่อนหรือความรู้เดิมของผู้เรียน และสิ่ง แวด ล้อม
    ทางการเรียนรู้
    - ให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองตามระดับของผู้เรียน
    ถ้าผู้เรียนลงมือกระทำในบริบท การเรียนรู้ โดยการร่วมมือกับผู้เรียนคนอื่น และผู้สอน และจำเป็นต้องควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าการที่เรียนในลักษณะที่เป็นผู้รับฟัง
    - ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวก
    จะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ครูจะต้องตัดสินความถูกต้องโดยใช้เหตุและผลได้

    ...............................................................................
    นางสาวศิริวิมล หมวกทอง
    ปวท.ปีที่ 1 รหัสนิสิต 5314650185

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. วิเคราะห์แนวปฏิรูปการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แต่ละมาตราเพื่อนำสู่การออกแบบหลักสูตรวิทยาศาสตร์
    วิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (Science Curriculum Development)
    รหัสวิชา 01159521
    ...........................................
    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2544 หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 9 มาตรา ดังนี้
    มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
    มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา เช่น ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม, ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย เป็นต้น
    มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เช่น จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง เเละจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ เป็นต้น
    มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
    มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน
    มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย
    มาตรา ๒๘ การจัดการศึกษาให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
    มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน
    มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา


    .............................................
    นางสาวศิริวิมล หมวกทอง
    ปวท.ปีที่ 1 รหัสนิสิต 5314650185

    ตอบลบ
  4. *** ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ***
    ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์มีความเป็นมาอย่างไร และ นักวิทยาศาสตร์พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไรทั้งในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งในสังคม จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะพื้นฐานของความรู้วิทยาศาสตร์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการอธิบายถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั่นเอง
    ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific knowledge) เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการสังเกตและประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ประกอบของความรู้วิทยาศาสตร์ คือ

    1. ข้อเท็จจริง (Fact)
    คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้) ความรู้ที่ได้นี้ เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งเช่น “น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ" , "น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ณ บริเวณที่ระดับน้ำทะเล" , "เกลือมีรสเค็ม" , "สเปคตรัมของแสงอาทิตย์มี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง" (ใช้อุปกรณ์ช่วย), "น้ำแข็งลอยน้ำได้"
    2. ความคิดรวบยอดหรือ มโนมติ (Concept)
    คือ ความคิดหลัก (Main idea) ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด ความเข้าใจ
    ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนอาจมีนโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ ความรู้เดิม วัยวุฒิ และ เหตุผลของบุคคลนั้นๆ
    3. หลักการ (Principle)
    เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ โดยนำกลุ่ม มโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริง แล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ (หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน)
    4. สมมติฐาน (Hypothesis)
    หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)
    5. ทฤษฎี (Theory)
    เป็นข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เป็นคำอธิบายหรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และใช้อ้างอิงได้ หรือ ทำนายปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างกว้าง สามารถใช้อธิบายกฎ หลักการ และการคาดคะเนข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองเดียวกันได้ (ทฤษฎี เป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น)
    6. กฎ (Law)
    เป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์กันระหว่าง เหตุกับผล และอาจเขียนในรูปสมการแทนได้ ผ่านการทดสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มาแล้ว (กฎ มีความจริงในตัวของมันเอง ไม่มีข้อโต้แย้ง สมารถทดสอบได้เหมือนเดิมทุกประการ)
    กฎอาจเกิดมาได้ 2 ทาง ด้วยกัน

    ตอบลบ
  5. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

    การเรียนรู้วิทยาศาสตร์วันนี้ไม่ได้มีแค่ เนื้อหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นคือ ความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร แตกต่างจากความรู้สาขาอื่น ๆ อย่างไร เหตุใดวิทยาศาสตร์จึงมีผลกระทบมากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่สาขาวิชาที่มีไว้เพื่อเรียนเท่านั้น แต่มันคือ เครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ความคิดขั้นสูงเพื่อให้คนเราสามารถดำรงชีวิตในโลกยุคนี้ได้ โลกที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลมานับไม่ถ้วน โลกที่เต็มไปด้วยความจริงและความเท็จ โลกที่มีทั้ง Science Non-science และ Pseudo-science โลกที่ต้องใช้การตัดใจแม้เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่นการเลือกซื้อกระดาษชำระ จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ เช่น การทำประชาพิจารณ์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เราลองมาดูกันว่า เรามีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากแค่ไหน โดยการเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อ ดังนี้
    1. Empirical NOS: Scientific knowledge based on natural phenomena, evidence, data, information, and observation
    วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
    2. Tentative NOS: Scientific knowledge is subject to change and never absolute or certain;
    ข้อ 2 ชัดเจนมาก เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
    3. Inferential NOS: The crucial distinction between scientific claims (e.g., inferences) and evidence on which such claims are based (e.g., observations);
    ข้อนี้หมายความว่าเราต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
    4. Creative NOS: The generation of scientific knowledge involves human imagination and creativity;
    ไอน์สไตน์เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
    5. Theory-laden NOS: Scientific knowledge and investigation are influenced by scientists’ theoretical and disciplinary commitments, beliefs, prior knowledge, training, experiences, and expectations;
    อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไป
    ข้อนี้อาจตอบคำถามหลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
    6. Social and cultural NOS: Science as a human enterprise is practiced within, affects, and is affected by, a lager social and cultural milieu;
    วิทยาศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
    7. Myth of the “Scientific Method”: The lack of a universal step-wise method that guarantees the generation of valid knowledge
    การค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
    8. Nature of scientific theories and law: Nature of, and distinction between scientific theories and laws. Scientific theories and laws are different kinds of knowledge (e.g., lack of a hierarchical relationship between theories and laws).
    สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน
    ลักษณะธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อนี้ จะสอดคล้องกับเอกสารทางวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่นักวิจัยยอมรับ และสอดคล้องกลับเอกสารหลักสูตรของอเมริกาที่สำคัญ เช่น Science for All Americans, Benchmark for science literacy คราวหน้าเราจะมาพูดกันต่อถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของไทย คือ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    บทความ อ้างอิงจาก [url] http://schamrat.com/nos1.aspx [/url]

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. A. Scientific Inquiry grade 6-8
    ในระดับนี้นักเรียนต้องการที่จะเรียนในรูปแบบของการเป็นระบบและทันสมัย รวมทั้งเป็นการสืบเสาะหาความรู้ ต้องการเข้าใจโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดี การสอนต้องการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแนวคิดความรู้แต่ผลของการลงมือปฏิบัตินั้นทำได้ยาก นักเรียนสามารถจะเป็นผู้นำได้ อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมในการทดลองและการอภิปรายอย่างชัดเจน เพื่อที่อธิบายความสัมพันธ์ของรูปแบบการทดลอง นักเรียนจะต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ ระบบแนวคิดของการเรียนวิทยาศาสตร์ต้องมีอยู่ในหลักสูตร ซึ่งนักเรียนไม่สามารถที่จะศึกษาแนวคิดทั้งหมดตามที่ต้องการจะเรียนได้หรือ จากการสังเกตประสบการณ์ที่พวกเขาได้เผชิญ ทั้งหมดจากการทดลองเพียงอย่างเดียวได้ แม้ว่าการสืบเสาะหาความรู้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่นักเรียนก็ต้องนำความรู้จากประสบการณ์เดิม และจากการอ่านมาใช้ด้วย ซึ่งในระดับนี้เป็นเหมาะที่จะเรียนรู้ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ค้นพบความรู้ต่างๆ ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างทางด้านพื้นความรู้ อายุ วัฒนธรรม สถานที่และเวลา
    เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ
    1. นักวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในการศึกษาปรากฏการณ์ของแต่ละวิชา และมีวิธีการทำงานแตกต่างกันในแต่ละสาขา
    2. การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเก็บสะสมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์โดยใช้เหตุผล จินตนาการในการหาสมมติฐาน และการอธิบายการเก็บข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล
    3. ถ้ามีตัวแปรเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 1 ตัว เวลาทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ชัดเจนเนื่องมาจากตัวแปรที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะเกิดจากไม่สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกมีอิทธิพลได้
    4. การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่สืบเสาะหาความรู้ พวกเขาเป็นผู้นำในการออกแบบการวิจัยหรือทดลองได้เสมอ สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยอาจจะไม่สามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆได้ทั้งหมด
    5. สิ่งที่คนอื่นคาดหวังในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ คือ เรื่องของผลที่เกิดขึ้นว่า พวกเขาได้ทำการสำรวจกันจริง ๆ หรือไม่เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้น
    6. นักวิทยาศาสตร์ทราบเกี่ยวกับข้อเสียของสิ่งที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า และเขาได้พยายามทำตามขั้นตอนเมื่อได้ออกแบบการสำรวจและทดสอบข้อมูล สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันในการสืบเสาะหาความรู้ในการดำเนินการ คือ การเรียนด้วยตนเอง

    ตอบลบ